วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ อำเภอเทิง

เมืองเทิงหรือเวียงเทิงเป็นเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนเนินเขาคลุมทั้งสองฟากแม่น้ำอิง ควบคุมเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในลุ่มน้ำอิง ภายในเขตเมืองทั้งสองฝั่งแม่น้ำมีซากวัดวาอาราม เศษภาชนะดินเผาเคลือบและไม่เคลือบอยู่ทั่วไป นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปและชิ้นส่วนพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาตามที่ต่าง ๆ ทั่วไป อำเภอเทิงมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เริ่มมีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยขุนเจื๋อง ราชโอรสขุนจอมธรรม ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (จังหวัดพะเยาในปัจจุบัน) ประมาณ จ.ศ. 482 (พ.ศ. 1663) เป็นหัวเมืองที่สำคัญของเมืองภูกามยาว โดยเมืองเทิงอยู่ในความปกครองของราชวงศ์มังรายราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
ต่อ มาการปกครองได้แตกสาขาแยกเมืองออกปกครองมากขึ้น เมืองเทิงจัดอยู่ในเขตปกครองของบริเวณนครน่าน ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2438) เรียกว่า กิ่งแขวงเมืองเทิง เป็นหัวเมืองของบริเวณน่านเหนือ (หัวเมืองชั้นนอกที่อยู่ห่างไกลเรียกว่า "บริเวณ" มีข้าหลวงบริเวณ ดูแล) กิ่งแขวงเมืองเทิงได้จัดแบ่งหมู่บ้านต่าง ๆ เป็น 14 แคว้น เช่น แคว้นเวียงเทิง มีเจ้าหลวงเทิง (ไชยสาร) เป็นบุตรของเจ้าพรหมสุรธาดาแห่งนันทบุรีศรีนครน่านเป็นเจ้าหลวงเมือง เทิงองค์สุดท้าย แคว้นบ้านหงาว แคว้นตับเต่า แคว้นน้ำแพร่ แคว้นบ้านเอียน และแคว้นบ้านงิ้ว ในพ.ศ. 2442 กระทรวงมหาดไทยจึงให้พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เสง วิริยศิริ) เมื่อครั้งเป็นพระยาศรีสหเทพราชปลัดทูลฉลอง ขึ้นมาจัดวางระเบียบการปกครองในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ อันเนื่องแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 แล้วนั้น และเพื่อที่กระทรวงมหาดไทยจะได้ตราข้อบังคับสำหรับปกครองมณฑลตะวันตกเฉียง เหนือขึ้นใช้ในปีต่อไป ปีนี้พระยามหาอำมาตยาธิบดีได้มาที่จังหวัดน่าน พร้อมด้วยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (ครั้งนั้นยังเป็นเจ้าสุริยะพงษ์ผริตเดช) เจ้าผู้ครองนคร พระยาสุนทรนุรักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ข้าหลวงประจำเมืองและเจ้านายท้าวพญาทั้งปวงประชุมปรึกษาตกลงวางระเบียบ ราชการขึ้นใหม่ การปกครองท้องที่ใหม่ ได้แบ่งเขตแขวงเมืองน่านออกเป็น 8 แขวง แขวงน้ำอิงคือหนึ่งในแขวงทั้ง ๘ คือรวม เมืองเทิง เมืองเชียงคำ เมืองเชียงแลง เมืองงาว เมืองเชียงของ เมืองเชียงเคี่ยน เมืองลอ เมืองมิน ให้มีที่ว่าการแขวงตั้งที่เมืองเทิง ในปี พ.ศ. 2457 แต่ต่อมาได้แยกการปกครองจากจังหวัดน่านมาขึ้นตรงต่อจังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2475 แบ่งการปกครองออกเป็น 10 ตำบล
อำเภอเทิง หมายถึงอำเภออยู่บนที่ราบสูง มีน้ำแม่อิงไหลจากจังหวัดพะเยา ผ่านอำเภอเทิงไปลงแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จากลุ่มน้ำแม่อิงนี้เอง แสดงว่ายุคโบราณดึกดำบรรพ์ บ้านเมืองที่อยู่ลุ่มน้ำแม่อิงย่อมเกี่ยวดองเป็นเครือญาติ แล้วมีลักษณะสังคมและวัฒนธรรมเดียวกัน เทิง ในชื่ออำเภอเทิง หมายถึงบริเวณที่สูง เห็นได้จากแผ่นดินบริเวณนั้นยกตัวขึ้นสูงกว่าบริเวณอื่น ดูได้จากถนนที่ไปจากจังหวัดพะเยา เมื่อจะเข้าอำเภอเทิง ถนนจะค่อยๆ ลาดสูงขึ้น บริเวณอำเภอเทิงเป็นเขตที่สูง มีคนอยู่อาศัยร่วมสมัยกับเมืองพะเยา, เมืองเชียงราย ตั้งแต่ยุคก่อนรับพุทธศาสนา หรือก่อน พ.ศ. 1700 แล้วเติบโตเรื่อยมาจนรับพุทธศาสนา ถึงมีคูน้ำคันดินเป็นบ้านเมืองลุ่มน้ำอิง แล้วมีฝีมือชำนาญทำพระพุทธรูปหินทรายจำนวนมากมายทั้งลุ่มน้ำอิง
กล่าวถึงเมืองเทิง(เมืองเติง) เมืองทเลิง(เมืองต๊ะเลิง) เมืองเธิง(เมืองเทิง) เมืองเซิง หรือเมืองเชิง เมื่อตะก่อน(แต่ก่อน)เมืองเทิงเป็นเมืองที่มีอำนาจเฉพาะ เจ้าเมืองเทิงองค์สุดท้ายคือเจ้าหลวงเทิง (ไชยสาร) เป็นบุตรของเจ้าพรหมสุรธาดา หรือเจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ ต่อมาเป็นเจ้าเมืองน่านเพราะไปสวามิภักดิ์ ร.1 แห่งกรุงสยาม เมืองเทิงจึงถูกรวมกับเมืองน่าน จนถึงในสมัยร.5 แห่งสยามได้แยกไปรวมกับเมืองแถวๆนั้นเป็นน่านเหนือต่อมาแยกเป็นจังหวัด (น่าจะอยู่ในอำเภอพะเยา) แต่มาเมื่อแยกพะเยาออกจากจังหวัดเชียงราย ชื่อเมืองเทิงก็ติดไปทางเชียงรายจนกลายเป็นอำเภอหนึ่งไป
ในตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่พระองค์เสด็จมาแล้วประทานพระเกศาธาตุ ซึ่งบรรจุอยู่ในพระธาตุจอมจ้อ และทำนายว่าต่อไปนี้จะมีเมืองชื่อเมืองเทิง อันหมายถึงการมาถึงของพระพุทธองค์ ที่เมืองเทิงเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพุทธรูปหินทราย อันเป็นฝีมือช่างสกุลพะเยา อันแสดงถึงว่าในอดีตถูกครอบงำทางศิลปวัฒนธรรมจากเมืองภูกามยาว เมืองเทิงเป็นเมืองน้อยแต่กำลังคนมากเมืองเทิงจึงถือเป็นเมืองที่มีฐานะเป็น เมืองโทนคือไม่ใช่เมืองขึ้น หมายถึงขึ้นโดยตรงต่อเมืองเชียงใหม่ (ขอยกตัวอย่างเมืองขึ้น เช่นเมืองวังเหนือ/ปัจจุบันอยู่บริเวณจังหวัดลำปาง เมืองวังเหนือขึ้นต่อเมืองเชียงราย ดังนั้นเมืองโทนคือเมืองเชียงราย)เช่นเดียวกัน เมืองเทิงก็เหมือนเมืองน่าน เมืองแพร่ เมืองละคอน เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน คือเป็นเมืองโทน อาณาเขตเมืองเทิงนั้นในปัจจุบันถูกแบ่งเขตเป็นอำเภออีก 2 อำเภอ คือ อำเภอเทิง แบ่งไปเป็นอำเภอขุนตาล(ส่วนหนึ่งทางทิศใต้และตะวันตก) และ(กิ่ง)อำเภอพญามังรายทั้งหมด
เมืองเทิงก่อนหน้านั้นสำคัญมากเพราะสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองน่าน หรือเป็นลูกหลานเจ้าเมืองน่านมาปกครองหัวเมืองเทิง ทำให้ประวัติ ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากเป็นช่วงสงคราม และการต่อสู้ไม่ว่าจะเป็นการกบฏเงี้ยว หรือกับพม่า แต่มีหลักฐานสำคัญคือบรรดาลูกหลานที่สืบสกุลมาจากเจ้าเมืองเหล่านั้นต่างนับ ถึอกันเป็นญาติกันมาอย่างเหนียวแน่น ดังต่อไปนี้ นามสกุล ณ น่าน กิตติลือ มหาวงศ์นันท์ มหาวงศ์ วงษ์วุฒิ ต้นคำ(ต้นคำไม่พบแล้ว) วุฒิพรม ซึ่งจะสังเกตได้จากผู้หลักผู้ใหญ่ในอำเภอเทิงส่วนมากก็มาจากสกุลนี้ และจะไปอยู่ในตำบล รอบนอกที่เป็นแว้นแคว้นในสมัยก่อนก็มี ปู่ย่าตาทวด ของนามสกุลเหล่านี้ ชาวบ้านอำเภอเทิงส่วนมากจะเรียกคำนำหน้านามว่า พ่อนายแม่นาย อันหมายถึงลูกหลานเจ้าเมืองเมื่อก่อน ซึ่งต้องเทียบเคียงกับเอกสารกับทางเมืองน่าน หรือพงศาวดารเมืองน่าน เพราะว่าเป็นเหตุการก่อนที่เมืองน่านที่เป็นรัฐอิสระ จะสวามิภักดิ์ต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นเมืองเทิงตอนนั้นจึงถึอว่าเป็นเมืองสำคัญของเมืองน่าน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเทิงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองเชียงราย ระยะห่างประมาณ 64 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพญาเม็งราย ​อำเภอขุนตาล และอำเภอเวียงแก่น
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงไซยะบูลี (ประเทศลาว) และอำเภอภูซาง (จังหวัดพะเยา)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ​อำเภอจุน ​อำเภอเชียงคำ (จังหวัดพะเยา) และอำเภอป่าแดด
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย

แหล่งน้ำที่สำคัญ

แม่น้ำอิง
แม่น้ำลาว
แม่น้ำหงาว
หนองข่วง
หนองซง
อ่างเก็บน้ำขุนปล้อง
อ่างเก็บน้ำขุนงิ้ว

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

ภูชี้ฟ้า 

วนอุทยาน แห่งชาติภูชี้ฟ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ฟ้าทอง มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 พื้นที่วนอุทยานเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ภู ชี้ฟ้า ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงทางตะวันออกของจังหวัดเชียงราย อยู่ระหว่างรอยตะเข็บชายแดนไทย–ลาว ลักษณะเป็นหน้าผาสูงเป็นแนวยาวไปตามแนวชายแดน บริเวณปลายสุดของหน้าผามีลักษณะแหลมคล้ายกับนิ้วมือชี้ยื่นออกไปในอากาศ จึงเป็นที่มาของชื่อ "ภูชี้ฟ้า" จุดที่สูงสุดของภูชี้ฟ้าอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,200 ถึง 1,628 เมตร เบื้องล่างของหน้าผาเป็นแอ่งหุบเขา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงตอง แขวงไชยบุรี ประเทศลาว

                                                                                          แหล่งที่มา งานของตัว
                                                                                          ผู้สร้างสรรค์ Teeradondon


แหล่งที่มา
中文: 由上傳者拍攝。
         




 

  พระธาตุจอมจ้อ

      พระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณ กาล ประวัติพระธาตุจอมจ้อจากคัมภีร์เก่าแก่ที่ตั้งโดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญในด้าน ภาษาบาลีของอำเภอเมืองเทิง (เมืองเถิง) ในสมัยนั้นได้กล่าวว่า ในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง มีพญานาคตนหนึ่ง รู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามความต่างๆแล้วจึงนำจ้อคำ ๓ ผืนแล้วจ้อแก้วอีก ๓ ผืน มาถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงขอทูลพระธาตุให้พระยานาคตนนั้น พระพุทธองค์จึงนำพระหัตถ์ลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่ง จึงโปรดให้พญานาคไว้พญานาคจึงนำความแจ้งให้เจ้าเมืองเทิงสร้างพระธาตุไว้ที่ กลางดอยเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ      ต่อมาจึงมีการขนานนามพระธาตุนั้นว่า พระธาตุจอมจ้อ



แหล่งที่มา http://www.chiangraidirectory.com/ads/16621/


ความเชื่อ

     ""ความเชื่อ"" ในการไหว้พระธาตุจอมจ้อ คำว่า "จ้อ" เป็นคำล้านนา หมายความเทียบได้กับ "ช่อ" ในภาษาไทยกลาง "จอมจ้อ" จึงควรหมายความถึง ชูขึ้น หรือสูงเด่น เป็นสง่า สูงส่ง ถ้าได้กราบไหว้ก็จะประสบความสำเร็จทุกสิ่งเหมือนกับการเริ่มเจรจาก็นำมาซึ่ง ความสำเร็จและสมประสงค์ทุกประการ






  ม่อนผาต้าย


 

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว :      ม่อนผาต้าย

ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว :      ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก
สถานที่ตั้ง :      ม.1 ต.แม่ลอย

ราย ละเอียด :      ม่อนผาต้าย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่เก่าแก่มีอายุหลายร้อยปี ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 จากการสำรวจของกรมศิลปากรหน่วยที่ 4 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2535 ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้มีลักษณะที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต ร่องรอยสถาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นแนวก้อนหินขนาดใหญ่ นำมาเรียงต่อกันเป็นกำแพงรอบ 4 ด้าน ในพื้นที่ประมาณ 2 งาน นับว่าเป็นโบราณสถานที่น่าศึกษาและเที่ยวชมอีกแห่งหนึ่งของตำบลแม่ลอย

การ เดินทาง :      เดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงสี่แยกแม่กรณ์เลี้่ยวขวา มุ่งหน้าสู่อำเภอเทิงระยะทาง 45 กม. ถึงทางแยกไปอำเภอจุนเลี้ยวขวา 2 กม. ถึงทางแยกวัดแม่ลอยไร่เลี้ยวขวามุ่งหน้าสู่อำเภอป่าแดด ผ่านที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอยตรงมา 3 กม. จะเห็นวัดหนองข่วงให้เลี้ยวซ้ายผ่านหมู่บ้านลัดเลาะไปทางทุ่งนา 4 กม. จะมีป้ายบอกทางไปม่อนผาต้ายเลี้ยวขวาไปตามทาง 2 กม. ก็จะถึงโบราณสถานเก่าแก่ม่อนผาต้าย



          
 




 

น้ำตกแก่งขุนปล้อง

  

รูปภาพ www.thaitambon.com
 ตำบลปล้อง ประชาชนในตำบลเป็นคนจังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ ได้พากันมาตั้งบ้านเรือน และได้มีการสร้างพระธาตุจอมทองขึ้น เพื่อเป็นที่สักการะบูชาและเป็นที่รวมจิตใจของชาวตำบลปล้องในปี พ.ศ. 2517
สภาพทั่วไปของตำบล :
ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเทิง ไปทางทิศเหนือระยะทางประมาณ 13 กม.
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดกับ ต.งิ้ว อ.เทิง จ.เชียงราย
ทิศใต้ ติดกับ ต.หนองแรด อ.เทิง จ.เชียงราย
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.เชียงเคี่ยน อ.เทิง และ ต.ดอนลาน อ.เมือง จ.เชียงราย
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 5,942 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,260 หลังคาเรือน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม ทำสวน ทำไร่
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. อ่างเก็บน้ำขุนปล้อง
2. น้ำตกแก่งขุนปล้อง
3. น้ำตกตาดบอน



น้ำตกห้วยเต่า

(อยากให้น้ำใส คนในพื้นที่โปรดช่วยกันรักษาป่า รักษาต้นไม้ด้วยนะคับ)
และช่วยกันดูแลกับสิ่งที่มีอยู่ สิ่งที่่ธรรมชาติมอบให้
ให้คงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ต่อไป
ให้คนอื่น ๆ ได้เข้ามาสัมผัสบรรยากาศ ของน้ำตก
และประทับใจ

สถานที่ตั้ง :  ตำบลงิ้ว อ.เทิง จ.เชียงราย


 

 วัดบุญนาค พระเจ้าสองสี ตำบลหงาว

พระเจ้าสองสี ตั้งอยู่ในวัดบุญนาค ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวังเชียงราย ห่างจากแยกบ้านปี้ (ทางขึ้นภูชี้ฟ้า) ไปทาง อ.เชียงคำ ประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงด่านตรวจตำบลหงาว เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 3-4 กิโลเมตร พระเจ้าสองสี จะอยู่ในวัดบุญนาค ตั้งอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนบุญนาค
หงาว เป็นนตำบลเล็กๆ ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และการพัฒนาท่องถิ่น ที่น่าสนใจ จนทำให้ทีมงานของเราอยากนำมาบอกเล่าให้นักท่องเที่ยวและชาวเชียงรายที่มี โอกาสเดินทางผ่านไปสัมผัสภูชี้ฟ้า เสียเวลาเพียงเล็กน้อยเข้ามาศึกษาวิถีชีวิตของผู้คน และนมัสการพระ ศักดิ์สิทธิ์ของตำบลหงาว เหมือนกับคำที่ว่าก่อนทำการใดๆ ให้ไปไหว้พระ เพื่อเป็นสิริมงคล จะทำการใดก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหรือหากมีเวลามากหน่อยจะแวะพักเพื่อหา ข้อมูลของภูชี้ฟ้าก่อนที่จะขึ้นไปสัมผัสความงามของธรมชาติข้างบนก่อนคงดี เพราะที่หงาวเองก็มีจุดแวะพักนักท่องเที่ยวท่านสามารถหาข้อมูลการเดินทางไม่ ว่าจะเป็นสถานที่พัก ราคาห้องพัก อาหารและอื่นๆ พร้อมกันนั้น ศูนย์ otop ของตำบล หงาว ให้ท่านซื้อหาของใช้ของฝาก ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการสนับสนุนชาวบ้าน เพื่อให้เขามีรายได้เป็นอีกแบบหนึ่งของารพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

  ภาพโดย เชียงรายโฟกัสดอทคอม

 

 

 ดอยผาหม่น 


เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกแห่งหนึ่งของ จ . เชียงราย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากภูชี้ฟ้ามากนัก นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวภูชี้ฟ้า ไม่ควรพลาดที่จะแวะมาเยี่ยมชมความสวยงามของดอกไม้เมืองหนาวของที่นี่ โดยเฉพาะดอกทิวลิป และดอกลิลลี่  ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรดอยผาหม่นซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535 มุ่งเน้นให้เป็นศูนย์ฝึกอบรม และส่งเสริมด้านการเกษตร บนพื้นที่ 113 ไร่ บนความสูงกว่า 1,000 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดปี   ที่นี่ เป็นสถานที่ เพาะปลูกไม้เมืองหนาวหลายชนิด เช่น ดอกทิวลิป ลิลลี่ ดอกชัลเวียสีแดง ต้นคริสต์มาตย์สีแดง หลากสีหลายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีทัศนียภาพที่สวยงามเห็นภูเขาน้อยใหญ่เรียงสลับกันอย่างสวยงาม สีเขียวขจีของต้นไม้ แสดงให้เห็น ถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้โดยรอบ ไฮไลต์ที่สำคัญของที่นี่ ก็คงเป็นการเปิดให้เข้าชมแปลงดอกทิวลิปหลากสี ดอกลิลลี่ และยังมีดอกไม้เมืองหนาวอีกมากมาย บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ โดยจะมี จัดเทศกาล ดอยทิวลิปบาน ที่ ดอยผาหม่น ในช่วงหน้าหนาวของทุกปี  ดอกทิวลิปบานแล้วจะอยู่ได้ราว 1 สัปดาห์เท่านั้น และเป็นดอกไม้ที่ชอบ อากาศหนาวจะอยู่ในอณุหภูมิที่ 10-15 องศาเซียลเซียส ศูนย์ส่งเสริมการเพาะปลูกไม้เมืองหนาว จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อศึกษาและทดสอบในการนำทิวลิปเข้ามาปลูกในเมืองไทย ทิวลิปของที่ดอย ผาหม่นมีสายพันธุ์เป็นร้อยสายพันธุ์แต่ที่ทดสอบแล้วปลูกได้ในเมืองไทยมีอยู่ 30 สายพันธุ์ ส่วนที่นำมาทดลองปลูกม ี 11 สายพันธุ์ที่ทนทานรับกับสภาพอากาศบนดอยได้ การปลูกต้องใช้หน่อที่นำเข้าจาก เนเธอร์แลนด์ และใช้ครั้งเดียว ซึ่งอุณหภูมิจะเป็นตัวกำหนดการออกดอก





การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเทิงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านปล้อง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปล้อง
  • เทศบาลตำบลเวียงเทิง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียง
  • เทศบาลตำบลงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสันทรายงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทรายงามทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเชียงเคี่ยน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงเคี่ยนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหงาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหงาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงเทิง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปล้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปล้อง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านปล้อง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลอยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตับเต่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตับเต่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีดอนไชยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแรด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแรดทั้งตำบล

สถานศึกษาที่สำคัญ

     วิทยาลัยการอาชีพเทิง

              วิทยาลัยการอาชีพเทิง ตั้งอยู่ที่ 191 หมู่ 15 ถนนพิศาล ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย (สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งเมื่อเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 บนที่ดินสาธารณประโยชน์ของสภาตำบลเวียงและที่ดินราชพัสดุโรงเรียนเทิง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีพื้นที่รวม ประมาณ 50 ไร่ สถานศึกษาแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อผลิตบุคลากร ที่มีคุณภาพสู่สังคม โดยได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในขณะนั้น ข้าราชการครู ข้าราชการบำนาญ ผู้ประกอบการ หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ในการประสานงานในการจัดตั้งและสนับ สนุนการจัดการเรียนการสอนเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และหลักสูตรระยะสั้นอื่น ๆ

         

        โรงเรียนเทิงวิทยาคม 

          เป็นสถานศึกษาของรัฐประจำอำเภอเทิง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 (47 ปี)    เดิมใช้ชื่อ โรงเรียนเทิงศิริวัฒน์วิทยาคม จัดเป็นสถานศึกษาอันดับที่ 4 ของจังหวัดเชียงราย

         โรงเรียนปล้องวิทยาคม

          เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 120 หมู่ 9 ตำบลปล้อง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงราย เขตที่ 4 ได้รับประกาศจัดตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2524 ณ หมู่บ้านป่ามื่น ตำบลปล้อง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ทั้งหมด 39 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา โดยแบ่งที่ดินที่จากสภาตำบลปล้อง และประชาชนได้ร่วมบริจาคทรัพย์จัดซื้อจากเอกชนเป็นพื้นที่จำนวน 7 ไร่ 80 ตารางวา และเป็นที่ดินสภาตำบลได้ขอแบ่งจากโรงเรียนบ้านป่ามื่นสังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ อีกจำนวน 12 ไร่ 1 งาน

          โรงเรียนวัดอำมาตย์วิทยา

          พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตั้งอยู่ หมู่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งเมื่อ 26 มกราคม 2535 โดยคณะสงฆ์อำเภอเทิง และได้รับอนุญาตตามใบอนุญาตเลขที่ 74/2536 ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 ได้ขยายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงปัจจุบัน โดยมีพระครูอุดมคณาภิรักษ์เป็นผู้จัดการ และ พระมหาโสภณ เป็นผู้อำนวยการ


          โรงเรียนเด็กดีพิทยาคม

             ตั้งอยู่เลขที่ 216 หมู่ 10 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57160 ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยเปิดทำการสอนครั้งแรก ในระดับอนุบาล ตั้งอยู่เลขที่ 276 หมู่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ต่อมาได้ย้ายมา ณ ที่ทำการปัจจุบันในปี พ.ศ.2536 ตั้งอยู่เลขที่ 216 ม.10 ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย เปิดทำการสอนเพิ่มในระดับประถมศึกษา ในปี พ.ศ. 2543 เปิดทำการสอนเพิ่ม ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และในปี พ.ศ.2550 ได้เปิดทำการสอนเพิ่มในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

          โรงเรียนสักสันเชียงใหม่วิทยาคม

             ประวัติโรงเรียน ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนสักสันเชียงใหม่วิทยาคม    ตั้งอยู่เลขที่  154  หมู่  5 ถนน พิศาล   ตำบล งิ้ว  อำเภอเทิง  จังหวัดเชียงราย  รหัสไปรษณีย์  57230โทรศัพท์ 053-669351โทรสาร 053-669351  e-mail...ss.wk1 @ hotmail.com  ....website...... www.saksun .com
เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล  1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่  3เนื้อที่  69ไร่55 ตารางวาเขตพื้นที่บริการการศึกษาศูนย์เครือข่ายการศึกษาตำบลงิ้ว
  

สถานที่ราชการที่สำคัญ

  • ศาลจังหวัดเทิง
  • สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดเทิง
  • เรือนจำอำเภอเทิง
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงราย เขต 4
  • โรงพยาบาลเทิง
  • สถานีตำรวจภูธรเทิง
  • สำนักงานขนส่งอำเภอเทิง
  • สำนักงานเกษตรอำเภอเทิง
  • ที่ว่าการอำเภอเทิง
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารเทิง
  • แขวงการทางเทิง
  • การไฟฟ้าเทิง
  • สำนักงานปศุสัตว์เทิง

รายชื่อวัด


แหล่งข้อมูลอื่น